Media >

การกระจายอำนาจและคุณลักษณะผู้นำประเทศ : เอกรินทร์ ต่วนศิริ
Bangkok Thailand

Interviews

การกระจายอำนาจและคุณลักษณะผู้นำประเทศ : เอกรินทร์ ต่วนศิริ

การกระจายอำนาจและคุณลักษณะผู้นำประเทศ อ. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  จากเวทีเสวนาสาธารณะออนไลน์ New (ab)normal ทางการเมือง?? โดยเครือข่าย We Watch เวลา 14.00-16.30 น. วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563

เราเข้าใจกันดีว่าตอนนี้ยังไม่มีการเลือกตั้ง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเดิมเป็นผู้รักษาหรือหรือปลัดรักษาการแทนนายกเทศนาหรือที่ที่ไม่มีนายกคนเดิม เราต้องเข้าใจว่าเรายังไม่มีการเลือกตั้งมา 6-7 ปีที่ผ่านมา

องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น ตลอดที่ผ่านมา หลังจากรัฐธรรมนูญ 40 มีอำนาจ อยู่ในสภาพบังคับให้รัฐกระจายอำนาจ ซึ่งช่วงที่ผ่านมา เราเห็นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เราเห็นบทบาทชัดมากในการจัดการเรื่องของท้องถิ่นในแต่ละที่

หลังจากที่เรามีรัฐประหาร 2 ครั้ง ส่งผลต่อการกระจายอำนาจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากงานวิจัยของผม ข้าราชการท้องถิ่นสะท้อนให้เห็นว่า หลังจากไม่มีผู้บริหารและให้ปลัดเข้าดูแลเทนตำแหน่งนายกเทศมนตรี สะท้อนแง่มุมนโยบายนั้นตามรัฐบาลกลางหมดเลย ไม่มีใครกล้าทำโครงการใหม่ ๆ เพราะ สตง. จะเข้ามาตรวจสอบ ทำให้ท้องถิ่นไม่กล้าทำงานตอบสนองปัญหาใหม่ ๆ

องค์กรส่วนท้องถิ่นจะมีการทำแผน 3-5 ปีในเรื่องงบประมาณหรือทรัพยากรบุคคล คำถามสำคัญคือ ท้องถิ่นได้ตอบสนองปัญหาในแต่ละพื้นที่มั้ย ในรอบที่ผ่านมาหลังรัฐประหาร ท้องถิ่นไม่สามารถตอบสนองปัญหาโจทย์ใหม่ ๆ ได้เลยโดยเฉพาะประเด็นชาติแดน เพราะนโยบายเดิมไม่สามารถรองรับสถานการณ์ใหม่ การข้ามแดน ผู้ร้ายข้ามแดนได้เลย

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตอนนี้มี 7000 กว่าแห่งทั่งประเทศ มี อบจ. ประจำจังหวัด มีเทศบาล การปรับเปลี่ยนการยกฐานะต่าง ๆ มีความพยายามยกฐานะตัวเองให้เข้ามามีอำนาจในการจัดการ ให้เข้าระเบียบเงื่อนไข หากมีการเลือกตั้งต่อไป เทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพยายามยกฐานะของตัวเองตามกฎเกณฑ์

สิ่งสำคัญคือ ท้องถิ่นต่าง ๆ มีความแตกต่างกันมาก อยู่ในแบบคิดแบบเดิม สิ่งที่เป็นตัวกำหนดคือ รัฐธรรมนูญในปัจจุบัน โดยเฉพาะแผนบุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ท้องถิ่นต่าง ๆ จะต้องเขียนแผนให้เข้ากับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้ได้รับงบประมาณ ทำให้ท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่สามารถคิดนอกกรอบได้ ไม่มีผู้บริหารที่ mandate มาจากประชาชน

การคุยกับอดีตผู้สมัครนายก อบต. และเทศบาล เค้ากลัวว่าการทำโครงการหรือการคิดอะไรต่าง ๆ จะถูกตรวจสอบจาก สตง. ไม่ได้มีอิสระการจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่ตอบสนองกับท้องถิ่นอย่างที่ผ่านมา

ช่วงที่ผ่านมา มีประเด็นโควิด-19 ให้บทบาทท้องถิ่น ให้เงินท้องถิ่นเข้าไปช่วยเหลือ เงินจำนวนพันกว่าล้านบาทที่ท้องถิ่นเข้าไปจัดการ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีบทบาท อำนาจสูงสุด แต่หน่วยงานท้องถิ่นเป็นเพียงผู้รับคำสั่ง ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าเราอยู่ในระบบราชการอย่างเต็มรูปแบบ

ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กอ.รมน. และผู้ใหญ่บ้าน —- ส่งผลให้จินตนาการของผู้คนในท้องถิ่นต้องพึ่งระบบราชการที่มาขึ้น นักการเมืองท้องถิ่นไม่มีบทบาทมากนักต่อสิ่งที่เกิดขึ้น อาจมีบางจังหวัดที่มี อบจ. ที่แข้มแข็ง แต่ก็ผูกโยงกับพรรคการเมือง

พลวัตทางการเมืองของท้องถิ่น การเลือกตั้งหรือระบบที่จะทำให้ท้องถิ่นมีประสิทธิภาพและคุณภาพจะต้องยึดโยงกับรัฐราชการ คือผู้ว่า และพรรคการเมืองที่อยู่กับขั่วอำนาจทางการเมือง ท้องถิ่นนั้น ๆ จะไปได้เร็ว

Ekarin Tuansiri

นท้องถิ่นทางใต้ อบจ. จังหวัดหนึ่งผูกกับ อบจ. ทางอีสาน ทำให้เกิดการช่วยเหลือกัน ตอนนี้มีการข้ามแดนกันมากขึ้นภายใน จากอีสานเข้ามาช่วย อบจ. หนึ่งทางภาคใต้ผ่านทางกีฬาหรือเรื่องอื่น ๆ มีการเชื่อมโยงในระยะหลังที่เห็น

ระยะโควิด ทางใต้จะเป็นคนแสนกว่าคนเดินทางจากมาเลเซีย แต่ดูเพจ อบต.ที่ติดชายแดน บทบาทของพวกเขาต้องยึดโยงกับคำสั่งของผู้ว่า จะต้องของบประมาณที่ต้องอาศัยความร่วมมือ ความใกล้ชิดกับผู้ว่าฯจังหวัด ทำให้ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์โควิดได้เลย

เรื่องของท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นภาพรวมของการเมืองทั้งประเทศ สะท้อนภาพรวมของรัฐไทย ที่ปฏิเสธการกระจายอำนาจอย่างแน่นอน

ทั้งในกรุงเทพหรือในท้องถิ่นต่าง ๆ ก็ไม่มีวี่แววของการเลือกตั้งว่าจะมีเมื่อไหร่ เราอาจจะไม่มีการกระจายอำนาจเลยแล้วก็ได้ในปัจจุบัน เพราะขึ้นอยู่กับข้างบน แทบจะเบ็ดเสร็จผ่าน กอ.รมน. หรือมหาดไทย และกลไกของรัฐต่าง ๆ
ถ้าเราดูปรากฎการณ์ COVID-19 และผู้นำระดับประเทศสู่ผู้นำระดับท้องถิ่น เราเผชิญสิ่งสำคัญมากคือ ผู้นำที่เป็นอยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการและความใฝ่ฝันของคนหรือคนรุ่นใหม่ได้เลย สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการของนายกรัฐมนตรี ผู้นำทางการเมือง ใช้ระบบราชการและความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งที่ผ่านมา และลอยตัวจากปัญหา

หากเทียบกับนิวซีแลนด์หรือเยอรมนี เรายังเผชิญกับวิกฤติ สะท้อนให้เห็นภาวะการนำของชนชั้นนำไทย พยายามไม่ให้เสียงคนรุ่นใหม่หรือเสียงคนเล็กคนน้อยโผล่มาในพื้นที่สาธารณะ และทำให้วาทกรรมปิดบ้าน เอาสุขภาพนำเป็นข้ออ้าง ทำให้การบริการจัดการในภาพรวมของประเทศตกอยู่ในอำนาจของผู้ที่เชี่ยวชาญ เป็นวาทกรรมที่ลดเสียงของคนเล็กคนน้อย คนตกทุกข์ได้ยากจริง ๆ ความโหดร้ายของการอุ้มหาย ทำให้สังคมไทยกลับไปสู่เรื่องการใช้อำนาจนิยมเบ็ดเสร็จมากขึ้น

Was this useful?

Thanks for your feedback

You could also be interested in

Focus

Digital Election Analytic Lab (DEAL) หรือ โครงการติดตามเเละวิเคราะห์กระบวนการเลือกตั้งในโซเชียลมีเดีย เป็นกระบวนการสืบเนื่องที่พัฒนามาจากหลักการและกรอบแนวคิดของจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ ลงนามร่วมกันโดยพรรคการเมืองจำนวน 30 พรรค

Focus

LIVE แถลงการณ์ ความเห็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปล่วงหน้า-นอกเขต วันที่ 7 พ.ค. 2566 .โดยเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ปี 2566 . ณ ชั้น 9 อาคารอเนกประสงค์ 1 สถาบันไทยคดีศึกษา ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Interviews

“ผมรู้จักกับกลุ่ม We Watch ก่อนเลือกตั้งปี 2562 สักระยะ เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งจากนักศึกษา เพื่อมาสังเกตและจับตาการเลือกตั้ง ทั้งก่อนเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้ง ช่วงนั้นผมเรียนอยู่ ม.เกษตร ทำกิจกรรมนักศึกษาอยู่แล้ว เลยมาเป็นหนึ่งในอาสาสมัครของการเลือกตั้งครั้งนั้น ผมโอนสิทธิจากชุมพรมาเลือกตั้งล่วงหน้าที่กรุงเทพฯ หน่วยนั้นอยู่ใกล้กับราบ 11

Focus

เว็บลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าของ กกต. ล่ม คาดมีประชาชนได้รับผลกระทบนับแสน กกต. สมควรจะขยายระยะเวลาการลงทะเบียนเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหา