Media >

การเมืองดิจิตอล (digital politics): การเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองของคนกลุ่มใหม่ในโลกเสมือน
Politics

Interviews

การเมืองดิจิตอล (digital politics): การเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองของคนกลุ่มใหม่ในโลกเสมือน

ห้องเรียนที่ 1 การเมืองดิจิตอล (digital politics): การเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองของคนกลุ่มใหม่ในโลกเสมือน

“และสุดท้ายเราจะมองโลกออนไลน์ เทคโนโลยี หรือเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ยังไง

สำหรับผม ใช้มันในฐานะที่มันเป็นโลกที่สัมพันธ์กันแต่ว่ามันสามารถแบ่งเป็นคนละ เฉดหรือแบ่งเป็นห้อง ๆ ได้ แล้วแต่เราจะเลือกใช้ในเวลาไหน”

(ชัยพงษ์ สำเนียง, ผู้บรรยาย, 21 มิถุนายน 2563)

หลายคนเชื่อมโยงวิธีคิดตัวเองจากวาระในโลกออนไลน์แบบแยกไม่ออกและผูกโยงชีวิตประจำวันเข้ากับเทคโนยีแบบขาดไม่ได้ ปรากฏการณ์เหล่านี้เราจะเข้าใจอย่างไร แม้ว่าในอดีตมันเป็นเหมือนเรื่องที่ไกลตัวเรา แต่พอมาถึงวันนี้ หลายคนปฏิเสธไม่ได้ว่ามันแนบชิดเราขึ้นทุกวัน

ห้องเรียนนี้ เป็นหนึ่งในความพยายามของ We Watch ที่จะพาผู้สนใจการเมืองและสังคมมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “การเมือง” ในอีกมิติหนึ่งผ่านสายตาของนักมานุษยวิทยาผู้ศึกษาการเมืองในสนามออนไลน์ หรือ ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในครั้งนี้ เราต้องการเน้นคุณภาพของห้องเรียนจึงกำหนดผู้เข้าเรียนเพียง 15 คน/ห้อง ซึ่งผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมเรียน สามารถคลิกอ่านเนื้อหาบางส่วนได้ ตามนี้

การหวนกลับมาสู่การอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองผ่านดิจิตอล

เอ้! เราจะเข้าใจการเมืองแบบใหม่นี้ยังไง สิ่งที่มันเป็นปรากกการณ์สำคัญที่ทำให้ผมคิดเรื่องนี้ขึ้นมา คือ หนึ่ง ทำไมคนถึงมาเลือกพรรคอนาคตใหม่จำนวนมหาศาล สองคือ อะไรเป็นแรงจูงใจ หรือเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม

ในฐานะเป็นนักมานุษยวิทยาผมก็คิดถึงเรื่องพวกนี้เลยกลับไปอ่านหนังสือแนวมานุษยวิทยา ในสาขาวิชามานุษยวิทยามีหนังสือเกี่ยวกับ digital politics เยอะมาก และ digital anthropology ต่าง ๆ พอสมควร เรื่องดิจิตอลมันมีการศึกษาในแนวมานุษยวิทยาตั้งแต่ทศวรรษ 2000 หมายความว่ามันมีการคิดกันเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว แต่มันไม่ได้ถูกคิดอย่างจริงจัง เมื่อก่อนมันคิดในระบบอนาล็อกผสมกับดิจิตอล แต่ว่าหลังจากสิ่งที่เราเห็นในสังคมไทยมันนำมาสู่มุมมองต่อปรากฏการณ์หลาย ๆ อย่าง ดังการปรากฏตัวของการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านดิจิตอล ผ่านภาคที่ไม่มีตัวตนลงมาถึงภาคสนาม เริ่มตั้งแต่อาหรับสปริง หรือ การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง เราจะเห็นว่ามันมีการเคลื่อนไหว การรวมตัวกันประท้วง อันนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักมานุษยวิทยาหันกลับมาดูว่ามีความคิดอะไรที่จะมาอธิบายปรากฏการณ์นี้

ในทางมานุษยวิทยามีข้อถกเถียงสำคัญ 2 อย่าง หรือ “ดีเบตใหญ่ของเรื่องดิจิตอล คือ หนึ่ง เราจะมองมันในฐานะที่เป็นโลกแห่งความจริง เป็นโลกที่มีปฏิบัติการ เห็นตัวตน หรือสอง เป็นโลกเสมือนที่เราสร้างแต่งขึ้น เรานึกถึงโลกสองโลก ผมไปคุยกับนักเศรษฐศาสตร์บางท่านก็ไม่ค่อยเห็นด้วยกับพวกเราหมายความว่าเขาไม่เห็นด้วยกับพวก Anthropologist ที่บอกว่าเรามีสองโลก ในโลกเสมือนเราสร้างตัวตนแบบไหนก็ได้ สร้างตัวตนแบบอยากทำให้โปรไฟล์ดีต่าง ๆ นานา อยากแสดงความคิดเห็นอะไรก็ได้ แต่ว่าในโลกแห่งความเป็นจริงเราก็พยายามปิดบังซ่อนเร้นตัวตนไว้”

​ในสังคมวิทยา/มานุษยวิทยาบอกว่า การที่มีพื้นที่ออนไลน์มันเป็นการเปิดพื้นที่การแสดงออกทางการเมืองให้มากขึ้น คือ สังคมออนไลน์เป็นสังคมที่อยู่นอกเหนือจากภาคกายภาพ มันทำให้เป็นสื่อกลางของการเคลื่อนไหวทางสังคม คือ นำคนที่แตกต่างกันมาสนทนาร่วมกัน สนทนายังไงครับ ตัวอย่างการสนทนาทางการเมือง เช่น แฮชแท็ก (#) อย่างล่าสุด #saveโรม #ตามหาวันเฉลิม เราก็จะเห็นว่ามันเชื่อมร้อยคนต่าง ๆ ซึ่งอาจจะไม่คิดเหมือนกันเลย อาจมองวันเฉลิมอีกแบบหนึ่ง หรือมองโรมอีกแบบนึงแต่ว่ามันเชื่อมร้อยกันจนมาสู่การถกเถียงในทวิตเตอร์

ผมเน้นพื้นที่ทวิตเตอร์และเฟสบุ๊คเพราะว่าพื้นที่อื่นหรือพื้นที่ไลน์ การสื่อสารมันเป็นการสื่อสารส่วนตัวมากกว่า ผมก็เลยเลือกศึกษาเฉพาะทวิตเตอร์กับเฟสบุ๊ค สองพื้นที่นี้มันสามารถเชื่อมคนต่าง ๆ มาถกเถียงได้มากกว่า ผมคิดว่าเราสามารถยกตัวอย่างได้ง่ายสุด ใครอยู่ ม.ช. เราจะเห็นเรื่องเตีย ม.ช. มันนำคนที่รักหมา บางคนบอกว่าคลั่งหมาในหลาย ๆ ที่มารวมกันแล้วกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถกเถียงกันต่าง ๆ นานา จนกลายเป็นประเด็นดราม่า

สังคมออนไลน์นำมาสู่ประเด็นทั้งในเชิงคุณภาพ คือ เกิดการถกเถียงกัน และประเด็นดราม่าหรือการสร้างข่าวปลอมต่าง ๆ นานาก็มีจำนวนมาก ในขณะเดียวกันมันก็นำมาสู่การเติบโตทางการเมือง ผมคิดว่าพื้นที่ออนไลน์มันคือการสื่อสารที่รวดเร็ว ใครก็สามารถเป็นนักข่าว ใครก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่ส่งสารได้ เวลาที่จะโพสต์อะไรลงไป ผมยกตัวอย่าง คือ เราไม่เคยรู้จักตัวตนของเขามาก่อนเลย แต่ว่าเขาสามารถเขียนสื่อสารเรื่องทางการเมือง สื่อสารประเด็นทางสังคมได้ มันก็นำมาสู่การติดตามเป็นจำนวนหลักแสน เฮ้ย! เราก็จะเห็นว่าคนเหล่านี้นำมาสู่การถกเถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ คนที่ไม่เคยสนใจการเมืองก็มาเห็นการเมืองผ่าน # อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์

อีกอย่างหนึ่ง คือ โลกออนไลน์มันมีสองมิติที่มีการถกเถียงกัน “หนึ่ง มันมีการหลุดพ้นจากการปิดกั้นทางการเมืองก็คือมันอยู่เหนือตัวตนเรา หมายความว่าในทางกายภาพเราไม่รู้ชื่อปลอมแต่อาจจะโดนจับได้นะครับ (ขำ) แต่มันก็ทำให้เราดูปลอดภัย ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มันปลอดพ้นจากอำนาจรัฐ” หรือที่ Soja (1996) เรียกว่า“พื้นที่ปราศจากการควบคุมแบบสมบูรณ์ของรัฐ” แต่ว่าก็จะมีข้อถกเถียงกันอีกว่า ในพื้นที่ออนไลน์มันมีคุณภาพจริงไหม สามารถสร้างการถกเถียงเรียนรู้ หรือว่าเป็นข่าวจริงไหม อันนี้สำคัญ คือเราพูดถึงข่าวปลอม หรือว่าเป็นข่าวที่ง่าย ๆ ใครก็สามารถสร้างกดอะไรก็ได้เราปล่อยข่าวปลอมอะไรก็ได้ สามารถสร้างวาระทางสังคมได้มากมาย จนมีนักวิชาการบอกว่า “มันเป็นพื้นที่ที่เป็นมายาภาพ ประชาธิปไตยไม่ได้มีคุณภาพจริง ๆ” (Hindman 2008)

อีกข้อถกเถียง คือ การเคลื่อนไหวออนไลน์ไม่สามารถที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ เราจะเห็นได้ว่า ในหลาย ๆ ครั้งไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ แม้จะสามารถนำผู้คนมารวมกันแต่ว่าผู้คนที่มารวมกันเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลายเชื่อมโยงกัน แต่จะเชื่อมกันได้บางเรื่อง เช่น เซฟวันเฉลิม เซฟโรม ซึ่งก็มีความแตกต่างกัน

​ขณะที่ Daniel Miller (2016; 2562) บอกว่า“ชีวิตจริงกับชีวิตโลกเสมือนมันเป็นชีวิตเดียวกัน มันเคียงคู่กันไป มันสร้างชุมชน” อันนี้คือสิ่งที่ผมใช้มันในฐานะที่มันไปคู่กัน ชีวิตจริงในโลกออนไลน์กับชีวิตจริงในโลกทางกายภาพมันคือชีวิตเดียวกันไม่ได้แยกขาดออกจากกันแต่ว่าเราจะแยกบางเฉดบางห้อง “สิ่งที่เราเป็นกับสิ่งที่เราโพสต์มันคืออันเดียวกัน”

​และสุดท้ายเราจะมองโลกออนไลน์ เทคโนโลยี หรือเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ สำหรับผมใช้มันในฐานะที่มันเป็นโลกที่สัมพันธ์กันแต่ว่ามันสามารถแบ่งเป็นคนละเฉดหรือแบ่งเป็นห้อง ๆ ได้ แล้วแต่เราจะเลือกใช้ในเวลาไหน

ระบบเลือกตั้งและภูมิทัศน์ทางการเมือง

การสื่อสารในโลกออนไลน์มันมากับคนกลุ่มใหม่ คนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นคนที่ใช้การสื่อสารประเภทนี้เป็นจำนวนมหาศาล เราจะเห็นว่าจำนวนคนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิ/เสียงในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีประะมาณ 6 – 7 ล้านคน ซึ่งเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่เกิดมาพร้อมกับยุคดิจิตอล วิถีชีวิตพวกเขาเกิดมาพร้อมกับตอนเช้าเปิดเช็คข่าวต่าง ๆ นานา ถ้าสมมติว่าคนที่อยู่ในระบบเก่า หรือคนที่มีอายุโดยประมาณ 50 ปีขึ้นไปเกิดมาภายใต้โลกแบบอนาล็อก (analog) วิธีการสื่อสารของพวกเขาเราจะนิยมช่องทางไลน์ กลุ่มไลน์แบบนี้จะมีข้อความประเภท “สวัสดีตอนเช้า” ส่งข่าวอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าพวกเรานะครับ ผมอยู่ในกลุ่มบางกลุ่มเหมือนกัน ส่งข่าวปุ๊ป ๆ แต่ข่าวพวกนี้เป็นข่าวที่ไม่ได้กรองและก็เป็นการติดต่อสื่อสารทางเดียว คือ ให้นึกถึงทวิตเตอร์กับเฟสบุ๊ค หมายความว่าเวลาคุณโพสต์อะไรสักอย่าง หรือโพสต์อะไรต่าง ๆ นานา มันก็จะมีคนเข้าไปตอบโต้ บางกรณีตอบโต้จำนวนมหาศาล คุณสามารถเข้าไปต่อสู้อะไรได้ แต่ว่าถ้าเป็นไลน์ข่าวจะไวมาก และผมคิดว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว หรือมันอาจมีการตอบโต้กันไปมาแต่มันจะไปอยู่เฉพาะกลุ่มปิด หมายความว่าการสื่อสารแต่ละแบบมันนำมาสู่สำนึกทางการเมืองของคนแต่ละกลุ่มที่ไม่เหมือนกัน

ช่วงอายุกับการเมืองที่สัมพันธ์กันส่งผลต่อวิธีการหาเสียงที่แตกต่างกัน

ขอยกตัวอย่างพร้อมภาพประกอบที่แสดงให้เห็นว่า คนในแต่ละช่วงอายุพวกเขาต้องผ่านอะไรมาบ้างซึ่งจะพบว่า อายุกับการเมืองมักสัมพันธ์กัน และจะส่งผลต่อลักษณะและวิธีการหาเสียงที่แตกต่างกันไปด้วย กล่าวคือ การสื่อสารจะต้องใช้ “คอนเทนต์” อีกแบบหนึ่ง เช่น ข้อความอะไรที่สั้น ๆ และเชื่อมร้อยผู้คนได้ แต่คนที่เป็นผู้ใหญ่ก็จะเขียนอะไรยาว ๆ

ดิจิตอลมันมีวิธีคิดอีกแบบหนึ่ง อันนี้ผมยกตัวอย่างบุคคลสำคัญที่มีอายุเขียนโพสต์ จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนคนรุ่นใหม่ ยกตัวอย่างแฮชแท็กฮิตติดเทรนทวิตเตอร์ เช่น #สามพระจอมจะยอมได้ไง #KKU ขอโทษที่ช้าโดนสลิ่มลบโพสต์ คือ ถ้าคนไม่มีอะไรอย่างนี้มันจะคิดไม่ถึงคนที่ไม่เคยปฏิสัมพันธ์กันมาเชื่อมร้อยผ่าน#อะไรอย่างนี้ เราจะเห็นว่าเกิดขึ้นเป็นหมื่นเป็นแสน ถามว่าถ้าเป็นโลกแบบเก่า โลกแบบกระดาษ โลกแบบหนังสือพิมพ์มันขึ้นแบบนี้ไหม คือตอบว่า มันก็สร้างวาระอีกแบบ ถ้าเราอยากเห็นคุณป้าทั้งหลายก็จะเป็นแบบนี้ ห้อยนกหวีด มีสัญลักษณ์

มีอะไรอยากจะแลกเปลี่ยนไหมครับ?

คำถาม “จริง ๆ แล้วภาพการเมืองในโลกออนไลน์มันสะท้อนภาพการเมืองจริง ๆ หรือเปล่า เพราะอย่างล่าสุดที่เราเห็น คนที่เกลียด“…” แต่ปรากฏว่า “…” ลงไปช่วยหาเสียงก็ปรากฏว่าก็ชนะเฉยเลย อย่างที่อาจารย์พูดถึงเมื่อก่อนมันอาจจะมีบอร์ดอะไรต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยน มันเป็นแค่การย้ายพื้นที่มาในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นหรือเปล่า แต่มันไม่ได้มีคนฝั่งตรงข้าม ถึงมีก็มีเฉพาะพวกไอโออะไรกระจอก ๆ อีกประเด็นก็คือ การเลือกตั้งที่ผ่านมาเราก็เกิดคำถามว่า เอ้! ใครมันกาพรรคนี้นักหนา ชอบกาพรรคนี้จัง คือ เลือกตั้งครั้งนี้เขาชนะได้ไง เหมือนกับว่าเลือกตั้งเราก็เหมือนคุยกันในโลกยุคดิจิตอลของเรากันเองแต่พบว่าการเมืองในสนามจริงมันเป็นอีกแบบหนึ่งไปเลย ชาวบ้านเขาไม่ได้สนใจเรื่องที่พวกคุณมาคุยกันในทวิตเตอร์หรอก เขาสนใจเรื่องเบี้ยคนชรา ประกันสังคมอะไรของเขาเนี้ย หรือหัวคะแนน ผู้มีอิทธิพล หรือคนที่ให้ประโยชน์เขาได้ ไม่มาเสียเวลาเถียงกับพวกคุณในออนไลน์หรอก

คำตอบ “อันนี้ผมขอแลกเปลี่ยน….ผมคิดว่าการเมืองพื้นที่มันก็มีการเมืองในระหว่างกลุ่มต่าง ๆ หมายความว่าหกสิบเปอร์เซ็นที่ผ่านมาผมคิดว่าคนที่ไปเลือกตั้งส่วนใหญ่คือคนที่อยู่ติดพื้นที่ คนอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งคนเหล่านั้นเขาใช้โลกอีกแบบหนึ่ง ก็ไม่ได้ผิดอะไร เขาก็ไม่ได้อยู่ในเฟสบุ๊คในทวิตเตอร์อยู่แล้วหมายความว่าไม่ได้อยู่ในการถกเถียง แต่ว่าสิ่งที่ผมสนใจในการเมืองดิจิตอล คือ การที่จะสร้างวาระต่าง ๆ คือ คนรุ่นใหม่ อันนี้ต่างหากที่ผมสนใจ อันนี้ คือหัวข้อเลยนะครับ กลับไปที่ อันนี้ก็คือกันตัวเองไว้ (ยิ้ม) หมายความว่าคนกลุ่มใหม่ในโลกเสมือน หมายความว่า ผมไม่ได้เข้าใจการเมืองทั้งหมดนะครับ ถ้าอยากกลับเข้าใจการเมืองพื้นฐานก็ต้องกลับไปดูการเมืองเชิงสถาบัน Actor ขบวนการเคลื่อนไหว ฯลฯ แต่มันไม่ได้แยกขาดจากกัน แต่มีลักษณะบางอย่างจำเพาะ อีกอันหนึ่ง สิ่งที่ผมกำลังนำเสนอก็คือ เราเข้าใจคนกลุ่มใหม่ คนเลือกตั้งครั้งแรก คนพวกนี้ไม่สามารถชนะระบบเขตได้อยู่แล้ว อาจจะแพ้แต่หมายความว่ามันสามารถที่จะสร้างวาระทางสังคมได้ ถามว่ามันมีผลกระเทือนไหมผมก็คิดว่ามันมีผลสะเทือนนะในหลาย ๆ ครั้ง

​สิ่งที่น่าสนใจ ผมเรียกมันว่า “เวิ้งว้างของการเชื่อมต่อ” เมื่อก่อนเหมือนกับว่าลูกดูทีวีเล่นเกมต่าง ๆ ไม่ได้เข้าใจอะไร สังคมไทยมันมีเสรีนิยม อนุรักษ์นิยม อนาล็อก ดิจิตอล ข่าวปลอม และสถานะมันเชื่อมกันในแง่ของประเด็นการเมืองหรือปรากฏการณ์ทางสังคมหรือว่าในทางกลับกันมันก็ถ่างความสัมพันธ์ของผู้คนในหลายระดับเหมือนกัน เช่น คนที่มีความคิดทางการเมืองต่างกันเล่นแพลตฟร์อม (Platform) ที่ต่างกันก็นำมาสู่วิธีคิดที่ต่างกัน หรือคนที่อายุมาก ดูข่าวต่าง ๆ เช่น ข่าวปลอมก็สร้างสถานะตัวตนอีกแบบหนึ่ง

ผมยกตัวอย่างอันหนึ่ง ผมรู้จักอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านนึงเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก ตอนแรกท่านก็เกลียดคนนี้ แต่ว่าพอมีเหตุการณ์ “สึนามิทางการเมือง” ตอนแรกท่านจะเลือกพรรค…คือมีความกลาง ๆ จะเลือกพรรค…ก็ถอนรากถอนโคนเกินไป จะเลือกพรรค…ก็รับคนนี้ไม่ได้ จะเลือกพรรค…ไปไม่ไหวแล้ว สุดท้ายเลือกพรรคนี้เพราะว่า “กลาง ๆ” สำหรับเขา

อ่านเพิ่มเติม

Horst, Heather A. Miller, Daniel. (Editor).

2012 ​Digital Anthropology London : Berg.

Hindman, Matthew.

2008​The Myth of Digital Democracy

Was this useful?

Thanks for your feedback

You could also be interested in

Focus

Digital Election Analytic Lab (DEAL) หรือ โครงการติดตามเเละวิเคราะห์กระบวนการเลือกตั้งในโซเชียลมีเดีย เป็นกระบวนการสืบเนื่องที่พัฒนามาจากหลักการและกรอบแนวคิดของจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ ลงนามร่วมกันโดยพรรคการเมืองจำนวน 30 พรรค

Focus

LIVE แถลงการณ์ ความเห็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปล่วงหน้า-นอกเขต วันที่ 7 พ.ค. 2566 .โดยเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ปี 2566 . ณ ชั้น 9 อาคารอเนกประสงค์ 1 สถาบันไทยคดีศึกษา ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Interviews

“ผมรู้จักกับกลุ่ม We Watch ก่อนเลือกตั้งปี 2562 สักระยะ เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งจากนักศึกษา เพื่อมาสังเกตและจับตาการเลือกตั้ง ทั้งก่อนเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้ง ช่วงนั้นผมเรียนอยู่ ม.เกษตร ทำกิจกรรมนักศึกษาอยู่แล้ว เลยมาเป็นหนึ่งในอาสาสมัครของการเลือกตั้งครั้งนั้น ผมโอนสิทธิจากชุมพรมาเลือกตั้งล่วงหน้าที่กรุงเทพฯ หน่วยนั้นอยู่ใกล้กับราบ 11

Focus

เว็บลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าของ กกต. ล่ม คาดมีประชาชนได้รับผลกระทบนับแสน กกต. สมควรจะขยายระยะเวลาการลงทะเบียนเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหา