Media >

นโยบายเปรียบเทียบ ก่อนและหลังรัฐประหาร 2557 : ชัยพงษ์ สำเนียง
justce

Interviews

นโยบายเปรียบเทียบ ก่อนและหลังรัฐประหาร 2557 : ชัยพงษ์ สำเนียง

นโยบายเปรียบเทียบ ก่อนและหลังรัฐประหาร 2557 : ชัยพงษ์ สำเนียง สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากเวทีเสวนาสาธารณะออนไลน์ New (ab)normal ทางการเมือง?? โดยเครือข่าย We Watch เวลา 14.00-16.30 น. วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563

1. เรื่องนโยบายแห่งรัฐ พูดถึงประชานิยม นโยบายของรัฐในแง่ของวิกฤติ แง่ของโอกาสและการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้

2. นโยบายของรัฐในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ผ่านมามีลักษณะ 2 อย่างที่สวนทางกันคือ เป็นสวัสดิการกับการสงเคราะห์ ซึ่งนี่คือหัวข้อที่อยากตั้งไว้ และ

3. เผด็จการซ่อนรูปและการตรวจสอบนโยบายรัฐ

จะเห็นว่านโยบายคือโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนในสังคมไทย แต่สิ่งที่เราเห็นในช่วงเวลาของโควิด สิ่งนี้เผยร่างให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐหรือความไม่สามารถของรัฐในการจัดการในแง่มุมต่าง ๆ คือสิ่งที่อยากตั้งไว้ในเบื้องต้น

เรื่องแรก นโยบายแห่งรัฐ ผมคิดว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลประยุทธ์ ตั้งแต่ 2557-ปัจจุบัน ล่วงเลยมาเกือบ 6 ปี ที่เราเห็นว่านโยบายที่เกิดขึ้น แม้รัฐบาลประยุทธ์เกิดขึ้นมาจากการต่อต้านนโยบายประชานิยมก็ตาม นโยบายที่ไม่ต้องการให้ผู้คนมีอำนาจในการกำหนดตัวเองได้ นี่คือสิ่งที่เราเห็นว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนคือผ่านนโยบาย คือนโยบายที่เคยเป็นนโยบายถ้วนหน้า เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน ถูกทำให้กลายเป็นนโยบายสังคมสงเคราะห์มากขึ้น คือเป็นนโยบายที่ให้ประชาชนเข้าไปขอเศษทานจากรัฐมากขึ้น เป็นสิ่งที่เราเห็นเป็นปรากฏการณ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่น่าตระหนักว่ามันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยาวนาน 6 ปี แต่เห็นชัดเจนที่สุดในช่วงการระบาด 3-4 เดือนนี้ มีคนตกงานจำนวนมหาศาล จะต้องไปรอการสงเคราะห์จากประชาสังคม รอ 5,000 บาทจากรัฐบาล นี่คือสิ่งที่ทำให้เห็นว่านโยบายที่เราเคยกำหนดได้เอง เคย สามารถตรวจสอบและเข้าถึง มันกลับทำให้เราเห็นว่ารัฐล้มเหลวในการจัดการนโยบาย

อีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐใช้การแจกเงินผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น แจกเงินเรื่องมารดาประชารัฐ บัตรสวัสดิการถ้วนหน้า หรืออะไรต่าง ๆ นานา การแจกเงินเหล่านี้ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมของรัฐคือ ในอดีตเราเห็นว่า นโยบายต่าง ๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน ต้องการให้คนเข้าถึงทุนเพื่อที่จะนำไปต่อยอด ต่อผลต่าง ๆ ทำให้เกิดการผลิตที่เพิ่มขึ้นในระบบตลาดและเพิ่มศักยภาพของประชาชน แต่ในหลายปีที่ผ่านมา การแจกเงินเป็นจุด ๆ เช่น 2,000 บาท ต่าง ๆ นานา ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหรือการพัฒนาศักยภาพ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นความต้องการของรัฐคุณประยุทธ์หรือไม่ หรือรัฐของชนชั้นนำนี้หรือไม่แต่มัน ส่งผลสะท้อนให้เห็น จากคำของคนชั้นกลางต่าง ๆ นานา เช่น การรอขอการช่วยเหลือจากรัฐอย่างเดียวเหรอ นี่เป็นการตัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนที่จะเปลี่ยนโครงสร้างไป

อีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้คือ นโยบายของรัฐจากที่ในปี 2540 การต่อสู้ของพรรคการเมืองต่าง ๆ จะต่อสู่ในเชิงนโยบายต่าง ๆ เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ค่อยได้สนใจเรื่องนโยบายในเชิงโครงสร้าง ก็ทำการต่อสู้ในเชิงนโยบายจำนวนมหาศาล แต่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา การต่อสู้เชิงนโยบายกลับไม่มีความสำคัญ เป็นการต่อสู้ในระดับอื่น ๆ เช่นตัวอย่างในรัฐบาลประยุทธ์ นโยบายยางโลละ 65-100 บาท หรือค่าแรง 400 บาท สุดท้ายก็ไม่ได้ทำตามสัญญา ถ้าเป็นรัฐบาลอื่น ๆ นโยบายเหล่านี้จะต้องถูกปฏิบัติใช้ เช่น เมื่อคุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายทันทีคือค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทประกาศใช้ทันที หรือปริญญาตรี 15,000 บาท ประกาศใช้ทันที แต่ในรัฐบาลประยุทธ์ นโยบายต่าง ๆ ไม่ถูกกำหนดใช้ คือการต่อสู้ในเชิงนโยบายของรัฐถูกลดทอนลงอย่างมหาศาล นี่คือสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นความเสื่อมถอยของการต่อสู้ในเชิงนโยบาย

Chaiyapong Samnieng

เรื่องการกระจายอำนาจ เราจะเห็นว่านโยบายการกระจายอำนาจถูก drop ตั้งแต่ปี 2551 ลงมา ก่อนหน้านี้ การกระจายอำนาจเป็นนโยบายหลัก คือรัฐบาลอื่นอาจจะไม่ได้สนใจมาก แต่ว่าก็ถือว่าเป็นงานที่ทำเรื่อย ๆ คือมีการเติบโตของการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมหาศาล ทำให้เห็นว่าการกระจายอำนาจนั้นมีความสำคัญ ท้องถิ่นสามารถสร้างนโยบายของตัวเองได้ในหลายระดับ ระดับเล็ก ๆ เช่น สวัสดิการ การจัดการเรื่องปลอดสารพิษ การจัดถนนหนทาง หรือสวัสดิการในท้องถิ่น แต่ในช่วงหลัง รัฐบาลประยุทธ์ไม่ได้สนใจสิ่งเหล่านี้ ทำให้นโยบายเหล่านี้กลายเป็นนโยบายที่อยู่ในอากาศธาตุ ท้องถิ่นทำงาน routine ทำงานขอไปทีในแต่ละวัน ไม่มีนโยบายที่เป็นนวัตกรรม นี่คือสิ่งที่ทำให้เห็นว่าในเชิงนโยบายในระดับต่าง ๆ นั้นเสื่อมถอย ประชาชนไม่สามารถสร้างนโยบายหรือกำหนดทิศทางในการพัฒนาได้

อีกประการหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ปรากฏการณ์องค์กรภาคประชาชนในอดีตที่เคยเป็นโซ่ข้อกลางระหว่างรัฐกับสังคม ระหว่างรัฐกับประชาชน ถูดลดทอนพลังลง อย่าง NGO หรือภาคประชาชนอื่น ๆ ถูกดึงไปเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐ ภาคประชาสังคมได้รับงบประมาณและการจัดสรรสิ่งที่เป็นทรัพยากรจากรัฐอย่างมหาศาล แต่หลายปีที่ผ่านมาถูกดึงไปเป็นองคาพยพของอำนาจรัฐ นี่เป็นสิ่งที่น่าวิตก เพราะองค์กรภาคประชาชน หรือ NGO ต่าง ๆ ที่คอยควบคุมความเคลื่อนไหวของรัฐ ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐในการสร้างฉันทามติของรัฐไปแล้ว ท้ายที่สุด เราจะอยู่ยังไงกับการที่เผด็จการซ่อนรูปในการตรวจสอบ เราเห็นว่าองคาพยพต่าง ๆ ที่มันเคยมีความสำคัญอย่างเช่นสภาผู้แทนราษฎร ถูกพรรคใหญ่ เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ หรือปัจจุบันคือพรรคก้าวไกล ไม่มีพลังในการตรวจสอบอำนาจรัฐในระบบรัฐสภาอีกต่อไป เผด็จการศ่อนรูปดึงใช้ทุกวิถีทาง ดึง ส.ส. จากพรรคฝ่ายค้านไปเป็นส่วนหนึ่งของพรรครัฐบาล ยุบพรรค ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ สร้างคดีจำนวนมหาศาล นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น

การตรวจสอบนโยบายจะต้องอาศัย 2 ภาคส่วน คือ 1. อาศัยการตรวจสอบในรัฐสภา โดยความเข้มแข็งของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และจากภาคประชาชน ช่วงโควิคทำให้เห็นหลายอย่าง เช่น การออก พรก. ของรัฐ ไม่มีประเทศไหนที่ออก พรก. เข้มข้นแบบห้ามชุมนุม ห้ามเคลื่อนไหว แต่ พรก. ฉุกเฉินที่รัฐประกาศใช้ 3 เดือนที่ผ่านมาทำให้ภาคประชาชนหรือคนที่อยากตรวจสอบอำนาจรัฐไม่สามารถมีปากมีเสียงได้ แม้แต่ในสภาก็ไม่สามารถประชุมได้ เพราะอ้าง พรก. ฉุกเฉิน ห้ามมีการชุมนุมเกิน 5 8 คน เหล่านี้เป็นการซ่อนรูปเผด็จการไว้ ระบบประชาธิปไตยที่พยายามบอกว่ามีการเลือกตั้ง พอถึงสถานการณ์วิกฤติ รัฐกลับสู่ระบบเผด็จการที่ใช้อำนาจแบบนี้อยู่แล้ว ตัวอย่าง พรก. กู้เงินที่ผ่านมา 1.9 ล้านล้าน เราเห็นว่าจำนวนเงินมหาศาลแต่พอรัฐเอาเข้าในระบบรัฐสภา มีเอกสารหรือรายละเอียดจำนวนน้อยมาก หากเป็นรัฐระบบประชาธิปไตยจะทำนโยบายแบบนี้ได้มั้ยในการเอาเงินจำนวนมหาศาลไปใช้ ผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ต้องมีการอภิปรายถกเถียงกันมหาศาล สื่อมวลชนต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น แต่ภายใต้ พรก. ฉุกเฉินหรือการอ้างสถานการณ์แบบนี้ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้เลย ทำให้นโยบายกลายเป็นหมัน คุณประยุทธ์บอกว่า องค์กรตรวจสอบต่าง ๆ นั้นมีอยู่แล้วแต่ภาคประชาชนถูกตัดออกไป เราจะรักษาสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

นโยบายของรัฐปัจจุบันเป็นรัฐอำมาตยาธิปไตยเพื่อชนชั้นนำ เพื่อนายทุน ไม่ได้เปิดโอกาสให้คนในภาคส่วนของสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมมากนัก อย่างสถานการณ์แบบนี้ที่เราเห็นว่า ชนชั้นกลางหรือคนที่ไม่เดือนร้อนกับสถานการณ์ที่จะต้องอยู่บ้าน เศรษฐกิจที่ไม่ขยับตัว มันไม่มีความหมายเลย ผมคิดว่าเราไม่ได้ถูกบล็อกด้วยรัฐในรูปแบบเผด็จการอย่างเดียว แต่ถูกบล็อกโดยประชาชนเอง คือมวลชนของรัฐแบบนี้มันนำมาสู่การบอกว่า
ประชาชนต้องไม่พูดอะไรนะ รัฐทำอะไรก็ได้ จัดการให้โควิดเป็นศูนย์ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะเผยให้เห็นความเน่าเฟะของระบบราชการที่ไม่สามารถจัดการได้

จากประสบการณ์ที่ผมได้ทำงานกับกลุ่มแรงงานในช่วงเวลา 2-3 เดือนี้ แรงงานข้ามชาติและชุมชนชายขอบได้รับผลกระทบจากสถานการ์ไวรัสนี้อย่างมหาศาล คือ ตกงาน 2-3 เดือน ไม่มีการช่วยเหลือจากมาตรการต่าง ๆ เข้าไม่ถึงการเยียวยา 5,000 บาท เข้าไม่ถึงเงินสวัสดิการประกันสังคม แต่ถามว่าคนเหล่านี้สามารถปริปากหรือพูดได้มั้ย นี่คือเรื่องที่เราถูกปิดปากด้วยมาตรการทางสาธารณะสุข คือเราต้องไม่ให้โรคระบาดแพร่มากขึ้น หากถามว่ามันจะอยู่ในลักษณะแบบนี้อีกยาวนานมั้ย นี่คือคำถามที่ใหญ่มาก ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว ห้างร้านที่ทยอยปิดตัวในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินจะอยู่อย่างไร นโยบายเหล่านี้รัฐไม่เคยพูดถึง ที่สำคัญคือ เราไม่สามารถส่งเสียงของเราได้ว่ารัฐจะไปในทิศทางไหน เมื่อก่อนในหลายปีที่ผ่านมาประชาชนสามารถเข้าไปกำหนดทิศทางของรัฐได้พอสมควร สามารถผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านองค์กรภาคเอกชน ผ่าน NGO ต่าง ๆ เพื่อเข้าไปบอกว่า นโยบายรัฐ 1-5 นี้ อะไรที่เราต้องการ อะไรที่เราอยากเสนอ แต่ในสถานการณ์แบบนี้ มันเปลี่ยนความสัมพันธ์จากที่รัฐอาจมีความสัมพันธ์กึ่ง ๆ กลาง ๆ ระหว่างรัฐกับประชาชน เป็นรัฐลงมาสู่ประชาชนแบบ top-down แบบเดิมคือจากบนลงล่าง นี่คือสิ่งที่น่าวิตกมากในเชิงนโยบายที่สำคัญ

ถามว่า ภาคประชาชนจะอยู่อย่างไร หรือจะทำอะไรต่อไป ผมคิดว่าสถานการ์ก่อนโควิดมีนิดหน่อย คือเราเห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลง คือมีขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ซึ่งอาจจะไม่ได้เกี่ยวกับนโยบายโดยตรง แต่เป็นการตรวจสอบรัฐในระดับหนึ่ง แต่หลังโควิด 2-3 เดือนนี้ การตรวจสอบของนักศึกษาได้ชะงักไป มีการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ผ่านออนไลน์ต่าง ๆ นานา แต่ไม่สามารถเป็นพลังที่สำคัญตรวจสอบอำนาจรัฐได้ รัฐชนชั้นนำเถลิงอำนาจมาก ๆ ใช้สถานการณ์ของโรคระบาด กลายเป็นนโยบาย เป็นการปิดการมีส่วนร่วม เป็นรัฐที่สั่งสอนประชาชนในแง่มุมต่าง ๆ คุณต้องทำอย่างนั้น 1-5 เพื่อที่จะไม่ให้โรคระบาด จนผมคิดว่าโรคระบาดกลายเป็นข้ออ้างไปแล้ว

ที่สำคัญคือหลังจากนี้ เราจะตรวจสอบรัฐอย่างไร จะตั้งคำถามกับรัฐอย่างไร สร้างความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างรัฐและประชาชนจะเป็นคำถามใหญ่ของพวกเราที่จะร่วมกันคิดในภาคประชาชน ภาคประชาสังคม

Was this useful?

Thanks for your feedback

You could also be interested in

Focus

Digital Election Analytic Lab (DEAL) หรือ โครงการติดตามเเละวิเคราะห์กระบวนการเลือกตั้งในโซเชียลมีเดีย เป็นกระบวนการสืบเนื่องที่พัฒนามาจากหลักการและกรอบแนวคิดของจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ ลงนามร่วมกันโดยพรรคการเมืองจำนวน 30 พรรค

Focus

LIVE แถลงการณ์ ความเห็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปล่วงหน้า-นอกเขต วันที่ 7 พ.ค. 2566 .โดยเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ปี 2566 . ณ ชั้น 9 อาคารอเนกประสงค์ 1 สถาบันไทยคดีศึกษา ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Interviews

“ผมรู้จักกับกลุ่ม We Watch ก่อนเลือกตั้งปี 2562 สักระยะ เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งจากนักศึกษา เพื่อมาสังเกตและจับตาการเลือกตั้ง ทั้งก่อนเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้ง ช่วงนั้นผมเรียนอยู่ ม.เกษตร ทำกิจกรรมนักศึกษาอยู่แล้ว เลยมาเป็นหนึ่งในอาสาสมัครของการเลือกตั้งครั้งนั้น ผมโอนสิทธิจากชุมพรมาเลือกตั้งล่วงหน้าที่กรุงเทพฯ หน่วยนั้นอยู่ใกล้กับราบ 11

Focus

เว็บลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าของ กกต. ล่ม คาดมีประชาชนได้รับผลกระทบนับแสน กกต. สมควรจะขยายระยะเวลาการลงทะเบียนเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหา