
ในช่วงฤดูการเลือกตั้งแบบนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่ป้ายหาเสียง บ้างก็เป็นรถหาเสียง แต่ละพรรคก็มีกลยุทธ์ในการหาเสียงแตกต่างกันออกไป เพื่อครองใจฐานคะแนนเสียงในแต่ละพื้นที่ แต่หาเสียงอย่างไรกันนะ ถึงจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย?
.
10 ข้อต้องห้ามในการหาเสียง!
.
1. ห้ามโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งทางวิทยุหรือทางโทรทัศน์เว้นแต่ที่ กกต. เป็นผู้จัด
2. ห้ามหาเสียงโดย ให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นๆ แก่บุคคลใด หรือให้แก่
ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นๆ
3. ห้ามโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดมหรสพ หรืองานรื่นเริงต่างๆ
4. ห้ามหาเสียงโดยจัดเลี้ยง หรือรับปากว่าจะจัดงานเลี้ยง
5. ห้ามหาเสียงโดย หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย หรือทําให้ประชาชนเข้าใจผิด
6. ห้ามทําโพล สํารวจความคิดเห็นของประชาชนโดยมีเจตนาไม่สุจริต ที่มีลักษณะเป็นการชี้นํา
7. ห้ามเผยแพร่ผลโพล ในระหว่างเวลา 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง
8. ห้ามหาเสียงเลือกตั้ง นับตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้ง จนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
9. ห้ามคนที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย เข้ามีส่วนช่วยเหลือในการหาเสียง
10. ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐ ใช้อํานาจตามตําแหน่งหน้าที่ช่วยโฆษณาหาเสียง
.
หากพบเจอการหาเสียงแบบข้างต้น สามารถรายงานมาได้ที่ https://www.electionwatchth.org/
ที่มา
[1] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561, 2561
—————————————
ร่วมเป็นอาสาสมัคร We Watch สังเกตการณ์วันเลือกตั้ง (1 วัน)
ได้ที่ https://www.electionwatchth.org/volunteer-signup
และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ line oa : @wewatchthailand หรือคลิกที่นี่ https://lin.ee/f2vj106
.
มาเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมจับตาเลือกตั้งไปกับพวกเรา
#จับตาเลือกตั้ง2566#เลือกตั้ง66#อาสาสมัครสังเกตการณ์เลือกตั้ง#wewatch