Media >

ชวนทำความรู้จัก DEAL (Digital Election Analytic Lab)
For Website

Focus

ชวนทำความรู้จัก DEAL (Digital Election Analytic Lab)

Digital Election Analytic Lab (DEAL) หรือ โครงการติดตามเเละวิเคราะห์กระบวนการเลือกตั้งในโซเชียลมีเดีย เป็นกระบวนการสืบเนื่องที่พัฒนามาจากหลักการและกรอบแนวคิดของจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ ลงนามร่วมกันโดยพรรคการเมืองจำนวน 30 พรรค เป็นครั้งแรกของประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามว่าพรรคการเมืองและผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งปฏิบัติตามกรอบแนวคิดจรรยาบรรณฯ มากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังเฝ้าระวังปฏิบัติการในโซเซียลมีเดียช่วงเลือกตั้งที่ตัวแสดงอื่นๆ อาจกระทำการที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของโซเซียลมีเดีย และผลกระทบต่อความเห็นสาธารณะ รวมถึงพฤติกรรมการลงคะแนนของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง ที่จะกระทบต่อกระบวนการเลือกตั้ง ความชอบธรรมของผลของการลงคะแนน ตลอดจนผลกระทบต่อบรรยากาศทางการเมืองโดยรวม และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปลุกระดมรูปแบบต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงในโลกออฟไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการเลือกตั้ง

DEAL เกิดจากการรวมตัวแบบเฉพาะกิจของเครือข่ายภาคประชาสังคม นำโดย WeWatch, Monitoring Centre on Organised Violence Events (MOVE), คณาจารย์และนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์และสื่อดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และประชาชนอาสาสมัคร ที่เห็นพ้องกันถึงความสำคัญของพื้นที่กลาง พื้นที่การสื่อสารและการถกแถลงทางการเมืองที่ปลอดภัย สร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ และให้ความสำคัญต่อการเลือกตั้งในฐานะของกระบวนการที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่ปราศจากความรุนแรง โดยโครงการฯ จะดำเนินงานในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566

How do we do it?

  • ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยมีกระบวนการทำงานเป็นแบบ  “Human-led & Tech-Enabled” ในลักษณะ Iterative Interval
  • เก็บข้อมูลโซเชียลมีเดียด้วย Facebook CrowdTangle และ Twitter API จากบัญชีโซเซียลมีเดียที่เป็นทางการของพรรคการเมือง จำนวน 67 พรรค ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค จำนวน 6,324  คน บุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี) จำนวน 62 คน
  • ติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ “Actor-over-Time-based Approach” แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 2 ส่วน
    • การวิเคราะห์พฤติกรรมและกลวิธี

วิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมของบัญชีโดยการใช้ชุดเครื่องมือเเละเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ได้แก่ Social Network Analysis, Network Centrality และ Topic Modelling 

  • การวิเคราะห์เนื้อหา: 

วิเคราะห์เนื้อหาด้วยกระบวนการวิเคราะห์แก่นสาร (Thematic analysis) ที่พัฒนากรอบการวิเคราะห์บนพื้นฐานของพฤติกรรมและกลวิธีการสื่อสารทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นอันตราย อันสอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการหาเสียงเลือกตั้งอย่างมีความรับผิดชอบ (The Code of Conduct on Responsible Use of Social Media in 2023 General Election; CoC) 

Disclaimer!!!

ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงทรัพยากรข้อมูล

ด้วยความแตกต่างของนโยบายด้านการอนุมัติระดับการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของแต่ละแพลตฟอร์มทำให้สามารถเข้าถึงและเก็บข้อมูลได้เพียงแค่ Facebook และ Twitter เท่านั้น ทั้งนี้ ใน Facebook อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลแค่เฉพาะโพสต์ต้นฉบับของบัญชีที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะเท่านั้น

อคติที่อาจจะเกิดจากการตีความ

  • รายงานฉบับนี้มีส่วนที่นำเสนอข้อมูลที่ผ่านการตีความโดยทีมวิจัย โดยได้พยายามวิเคราะห์ข้อมูลบนหลักการที่ต้องการให้พื้นที่การหาเสียงในโซเชียลมีเดีย สอดคล้องกับระเบียบกติกาการเลือกตั้ง และไม่มีเจตนาของการเป็นกลไกการจับผิด
  • การวิเคราะห์เเละตีความ เป็นเพียงการวิเคราะห์เเละตั้งคำถามภายใต้กรอบเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น เเละยังไม่ถือเป็นการสรุปผลที่เเล้วเสร็จ

การนำเสนอข้อมูล

สี ตัวย่อ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในอินโฟกราฟิก ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือสามารถอนุมานไปถึงสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ต่างๆ ของพรรคการเมืองต่างๆ 

Why did we anonymized them (…for now)?

  • ลดความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมือง ทั้งจาก กกต. พรรคการเมือง เเละกลุ่มผู้สนับสนุนของฝ่ายต่างๆ ในระหว่างที่กระบวนการเลือกตั้งยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ 
  • DEAL  อยากชวนสังคมตั้งคำถามและทำความเข้าใจกับที่มาที่ไปของเนื้อหาการเมืองที่เราได้รับผ่านโซเชียลมีเดีย
  • DEAL หวังว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมออกแบบพื้นที่การสื่อสารทางการเมืองเเละให้พื้นที่โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่การสื่อสารที่ปลอดภัย สร้างสรรค์ เเละไม่เป็นตัวเร่งความขัดเเย้ง

Download เอกสารได้ที่นี่

Was this useful?

Thanks for your feedback

You could also be interested in

Focus

Digital Election Analytic Lab (DEAL) หรือ โครงการติดตามเเละวิเคราะห์กระบวนการเลือกตั้งในโซเชียลมีเดีย เป็นกระบวนการสืบเนื่องที่พัฒนามาจากหลักการและกรอบแนวคิดของจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ ลงนามร่วมกันโดยพรรคการเมืองจำนวน 30 พรรค

Focus

LIVE แถลงการณ์ ความเห็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปล่วงหน้า-นอกเขต วันที่ 7 พ.ค. 2566 .โดยเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ปี 2566 . ณ ชั้น 9 อาคารอเนกประสงค์ 1 สถาบันไทยคดีศึกษา ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Interviews

“ผมรู้จักกับกลุ่ม We Watch ก่อนเลือกตั้งปี 2562 สักระยะ เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งจากนักศึกษา เพื่อมาสังเกตและจับตาการเลือกตั้ง ทั้งก่อนเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้ง ช่วงนั้นผมเรียนอยู่ ม.เกษตร ทำกิจกรรมนักศึกษาอยู่แล้ว เลยมาเป็นหนึ่งในอาสาสมัครของการเลือกตั้งครั้งนั้น ผมโอนสิทธิจากชุมพรมาเลือกตั้งล่วงหน้าที่กรุงเทพฯ หน่วยนั้นอยู่ใกล้กับราบ 11

Focus

เว็บลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าของ กกต. ล่ม คาดมีประชาชนได้รับผลกระทบนับแสน กกต. สมควรจะขยายระยะเวลาการลงทะเบียนเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหา