แถลงการณ์ร่วม:
เมียนมาร์: หยุดรัฐประหาร ปล่อยให้ศาลเลือกตั้งทำงานของพวกเขา
ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์, กองกำลังทหารของเมียนมาร์ Tatmadaw (ตั๊ดมาดอ = กองทัพ) แสดงท่าทีอย่างชัดเจนต่อการอ้างถึง การโกงรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 โดยได้ควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากรวมถึงที่ปรึกษาแห่งรัฐ นางอองซาน ซูจี, ประธานาธิบดีอูวิน มยิน, คณะกรรมการการเลือกตั้ง (UEC) ประธาน UEC นาย U Hla Thein ตลอดจนนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยนักการเมืองจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) และพรรคอื่น ๆ
ในเวลาต่อมา Tatmadaw ได้ประกาศว่าจะยึดอำนาจ พร้อมกับประกาศภาวะฉุกเฉิน 1 ปีและแต่งตั้งรองประธานาธิบดีที่เกษียณอายุราชการ คือ นายพล U Myint Swe ในตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี นอกจากนี้ยังมีการประกาศว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่หลังภาวะฉุกเฉินภายใต้คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งในคืนวันที่ 2 กุมภาพันธ์
องค์กรตรวจสอบการเลือกตั้งและองค์กรตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนที่ร่วมลงนามด้านล่างประณามการทำรัฐประหารของกองทัพในเมียนมาร์ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักเคลื่อนไหวที่ถูกควบคุมตัวทั้งหมดทันที
กลุ่ม Tatmadaw ต้องคืนอำนาจให้กับรัฐบาลที่นำโดยพลเรือนและแสวงหาการแก้ไขข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผ่านกระบวนการทางกฎหมายที่กำหนดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2008 แท้จริงแล้วรัฐธรรมนูญและกฎหมายการเลือกตั้งของเมียนมาร์ได้กำหนดเกลไกในการแก้ไขข้อพิพาทในรูปแบบของศาลเลือกตั้งพรรคสหสามัคคีและการพัฒนาแห่งชาติ (USDP) ที่ได้รับการสนับสนุนจากทหาร ซึ่งได้ทำการร้องเรียนหลายครั้ง เกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงและความผิดปกติในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ เช่นเดียวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มีสิทธิตามกฎหมายในการโต้แย้งอย่างเป็นทางการต่อผลการเลือกตั้ง และมีการดำเนินการดังกล่าวแล้วโดยยื่นร้องเรียน 174 เรื่องจาก 287 เรื่องร้องเรียน ที่ได้รับโดย UEC
ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งต่างรอคอยที่จะได้เห็นข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและหลักฐานที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่นำเสนอและได้รับการกล่าวถึงในกระบวนการพิจารณาของศาล ตามข้อมูลของเรา UEC กำลังจะดำเนินการแต่งตั้งศาลเลือกตั้ง แต่ทหารเข้ามาแทรกแซงเสียก่อน การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการเลือกตั้งซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานพื้นฐานที่ว่าทุกฝ่ายดำเนินการด้วยความสุจริตใจ
ดังนั้นกองทัพพม่าจึงต้องถอยกลับจากความพยายามก่อรัฐประหาร เข้าร่วมในกระบวนการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างสันติและโปร่งใส หนทางสู่ประชาธิปไตย ที่ได้รับการยอมรับอย่างถ่องแท้นั้นยาวนานและยากลำบาก แต่สิ่งสำคัญคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดจะต้องรักษาและปกป้องบรรทัดฐานของประชาธิปไตย การทำซ้ำสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2533 จะเป็นการกลับไปสู่ลัทธิเผด็จการโดยสิ้นเชิงและจะไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนเมียนมาร์และประชาคมโลก
We Watch ได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมกับองค์กรดังต่อไปนี้
- Asian Network for Free Elections (ANFREL)
- Association for Elections and Democracy (PERLUDEM), Indonesia
- Cambodian Human Rights Action Coalition (CHRAC)
- Cambodian Human Rights and Development Association (ADHOC)
- Cambodian Institute for Democracy (CID)
- Cambodian League for the Promotion and Defense of Human Rights (LICADHO)
- Center for Alliance of Labor and Human Rights (CENTRAL), Cambodia
- Centre for Monitoring Election Violence (CMEV), Sri Lanka
- Centre for Policy Alternatives (CPA), Sri Lanka
- Citizen Congress Watch (CCW), Taiwan
- Civil Network OPORA, Ukraine
- Coalition for Clean and Fair Elections (Bersih 2.0), Malaysia
- Coalition of Cambodian Farmers Community (CCFC)
- Committee for Free and Fair Elections in Cambodia (COMFREL)
- East and Horn of Africa Election Observers Network (E-HORN)
- Elections Observation Group (ELOG), Kenya
- ENGAGE, Malaysia
- Free and Fair Election Forum (FEFA), Afghanistan
- Free and Fair Election Network (FAFEN), Pakistan
- General Election Observation Committee (GEOC)/Nepal Law Society
- Global Network of Domestic Election Monitors (GNDEM)
- Hong Kong Election Observation Project (HKEOP)
- Independent Democracy of Informal Economy Association (IDEA), Cambodia
- Independent Election Monitoring Committee (KIPP), Indonesia
- Jaringan Pendidikan Pemilih untuk Rakyat (JPPR), Indonesia
- Legal Network for Truthful Elections (LENTE), Philippines
- MARUAH (Working Group for ASEAN Human Rights Mechanism, Singapore)
- Movement for Free & Fair Elections (MDDE), Sri Lanka
- National Citizens’ Movement for Free Elections (NAMFREL), Philippines
- National Election Observation Committee (NEOC), Nepal
- National Election Watch Sierra Leone (NEWSL)
- Neutral & Impartial Committee for Free & Fair Elections in Cambodia (NICFEC)
- Open Forum for Democracy Foundation (P-NET), Thailand
- People Center for Development and Peace (PDP-Center), Cambodia
- People’s Action for Free and Fair Elections (PAFFREL), Sri Lanka
- Pusat KOMAS, Malaysia
- Suara Rakyat Malaysia (SUARAM)
- Thai Action Committee for Democracy in Burma (TACDB)
- Tindak Malaysia
- Transparency International Cambodia
- Transparency Maldives
- Transparent Election Foundation of Afghanistan (TEFA)
- We Watch, Thailand
- West Africa Election Observers Network (WAEON)
- Women Caucus for Politics, Timor-Leste
- Women for Social Progress (WSP), Mongolia
- Youth Resource Development Program (YRDP), Cambodia
แถลงการณ์ร่วม: เมียนมาร์: หยุดรัฐประหาร ปล่อยให้ศาลเลือกตั้งทำงานของพวกเขา
Ref : ANFREL
The statement is also available in multiple languages:
Myanmar: “မြန်မာ : အာဏာသိမ်းခြင်းအား ရပ်တန့်ပေးရန်၊ ရွေးကောက်ပွဲခုံရုံးများအား ၎င်းတို့၏တာဝန်များကို လုပ်ဆောင်ခွင့်ပြုရန်”
French: “Myanmar: Arrêtez le coup d’État, laissez les tribunaux électoraux faire leur travail”
Chinese: “緬甸:停止政變,讓選舉法庭完成其任!”
Spanish: “Myanmar: Paren el golpe, dejen a los tribunales electorales hacer su trabajo”

