We Watch ชี้แจง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ถึงปัญหาการเลือกตั้ง การเตรียมการครั้งหน้า

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ณ อาคารรัฐสภา We Watch ประชุมกับคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับผู้แทนคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) และกลุ่ม ELECT เพื่อชี้แจงความเห็นการประเมินการเลือกตั้งที่ผ่านมา และการเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งซ่อมและการเตรียมการเลือกตั้งท้องถิ่นให้เกิดความสุจริต เที่ยงธรรม

เครือข่าย  We Watch ให้ความเห็นหากดูว่าการเลือกตั้งว่าดีไม่ดีบริสุทธิ์ยุติธรรมดูหรือไม่นั้น จะดูแค่เรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียงอย่างเดียวไม่ได้ ควรดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นที่ยอมรับ จากการศึกษาของ  We Watch พบว่าการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเป็นจุดหนึ่งของวงจรการเลือกตั้ง  โดยหลักจะมี 3 ช่วง คือ ก่อนเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้ง หากเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้งจะต้องดูประเด็น เช่น กรอบกฎหมาย รัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การแบ่งเขต การวางแผนงบ การจัดการของ กกต. รวมไปถึงการอบรม กปน. การให้ข้อมูลแก่ ประชาชน ซึ่งการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจะอยู่ในช่วงนี้คือก่อนเลือกตั้ง ส่วนวันเลือกตั้งจะดูเรื่องการลงคะแนน การนับคะแนน สำหรับหลังเลือกตั้งจะเป็นการดูเรื่องร้องเรียน

หากถามว่าการเลือกตั้งดีไม่ดี ควรปรับปรุงส่วนไหน ควรสนับสนุนส่วนไหนที่ดีอยู่แล้ว คงไม่ได้ดูแค่เรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง แต่จะดูทั้งวงจรทั้งหมดตามที่ได้กล่าวไว้ สำหรับการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 และการเลือกตั้งซ่อมนครปฐม 23 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นเรื่องโชคดีเหมือนกันที่ทำให้สังคมถกเถียงเรื่องการเลือกตั้งมากขึ้นกว่าเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เช่น การถกเถียงกันถึงปัญหากรอบกฎหมาย การแบ่งเขตเลือกตั้ง หากจะประเมินควรดูทั้งวงจร ดูความ Free Fair ในแต่ละช่วง (รายงานสังเกตการณ์การเลือกตั้ง We Watch)

ส่วนปัญหาเพิ่มเติมเชิงเทคนิคในการจัดการเลือกตั้ง ระบบการจัดส่งระบบขนคะแนนแบบ real time หรือ rapid report ทางเครือข่าย we watch เสนอว่าหากจะนำมาใช้ควรมีการเช็ค ทดสอบก่อนว่าใช้ได้ผลหรือไม่ มีประสิทธิภาคแค่ไหน และต้องสามารถตรวจสอบคะแนนแบบคู่ขนานได้จากภาคประชาชน ทั้งยังทำให้ภาพของการเลือกตั้งออกมาดี เพราะเปิดโอกาศให้มีส่วนร่วม ต่อเรื่องงบประมาณในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้าใจว่า กกต.ไม่ได้จัดสรรส่วนนี้ไว้ ควรจะต้องมี รวมถึงการพัฒนาหน่วยเลือกตั้งสำหรับผู้ที่ไม่สามารถมาใช้สิทธิ์ได้เช่น คนพิการ คนป่วย อาจจะต้องมีหน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่ ( mobile polling stations) เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอย่างอิสระ

หากให้เปรียบเทียบเรื่องการมีส่วนร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งจากภาคประชาชนกับต่างประเทศอย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย ศรีลังกา ของประเทศไทยต้องยอมรับว่ายังมีน้อยเพราะเรายังขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้ง ควรมีเวทีระดมความคิดเห็นจากประชาชน รับฟังความเห็นจากภาคประชาสังคมว่าควรปรับปรุงส่วนไหนบ้าง อยากทำอะไรบ้าง เพื่อสร้างการมีส่วนรวมของภาคประชาสังคมให้มากที่สุด

สุดท้ายประธานที่ประชุมได้สรุปความเห็นจากผู้เข้าร่วมและกรรมาธิการดังนี้

1.สิ่งที่ กกต.สามารถทำได้ทันทีคือการเปิดเผยข้อมูลการเลือกตั้ง(ผลคะแนนหน้าหน่วย)โดยไม่จำเป็นต้องรอการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า แต่เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อความชัดเจนโปร่งใสในการทำงานของ กกต.

2.กฎหมายหลายฉบับที่ต้องมีการทบทวนเพื่อทำให้การดำเนินงานของ กกต.มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะหารือกับกรรมาธิการต่อว่าจะทำให้ลึกซึ้งมากขึ้นอย่างไร

3.ควรมีการเพิ่มสิทธิความชอบธรรมให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐ

4.ควรมีเวทีถกเถียงเพื่อนำเสนอให้แก่ทุกภาคส่วนเห็นร่วมกันว่ากติกาการเลือกตั้งที่ภาคประชาชนและพรรคการเมืองเห็นพ้องต้องกันว่าควรเป็นอย่างไร เรื่องนี้สามารถทำได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องรอมติ ครม. และเมื่อ ครม.มีมติก็จะสามารถเสนอได้ว่าเป็นสิ่งที่ภาคประชาชนต้องการ

5.สำหรับบทเรียนการเลือกตั้งที่ผ่านมาอยากให้กำลังใจ กกต. คาดว่าภายในเดือนธันวาคมน่าจะมีความชัดเจนจาก กกต. สำหรับการเลือกตั้งซ่อมและการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้น หากมีปัญหาอีกก็แสดงว่าการถอดบทเรียนที่ผ่านมาอาจจะไม่มีประโยชน์เท่าไหร่

6.หากได้บทเรียนแล้วอยากให้มีเวทีร่วมกันว่าจะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งรอบต่อไปดีขึ้นโดยที่ กกต.ไม่ต้องรับผิดชอบภารกิจไว้นี้เพียงลำพัง

You could also be interested in

News

แถลงการณ์ We Watch สรุปสังเกตการณ์เลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 Public Statement On the Observation of Thailand's General Election on 14 May 2023

News

พรุ่งนี้ถึงเวลาแล้วที่ We Watch และอาสาสมัครจะร่วมแถลงผลการสังเกตการณ์ “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป 2566” .จึงอยากเชิญชวนทั้ง ประชาชน อาสาสมัครสังเกตการณ์เลือกตั้ง สำนักข่าวเข้าร่วมงานแถลงผลการสังเกตการณ์ ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 เวลา 11.00 - 12.00 น. ณ ชั้น 4 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

News

We Watch ซึ่งเป็นองค์กรสังเกตการณ์เลือกตั้ง ที่มีเป้าหมายผลักดันให้กิจกรรมทางการเมืองพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยนี้ ดำเนินไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม ขอกล่าวขอบคุณประชาชนและอาสาสมัครสังเกตการณ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ที่ร่วมกันลงแรงและร่วมใจ จนทำให้การรายงานกระบวนการเลือกตั้งเป็นไปอย่างมีคุณภาพ

News

จากสถานการณ์การเลือกตั้งล่วงหน้า และก่อนการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ พบว่ามีกลุ่มอาสาสมัครและภาคประชาชนให้ความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยในช่วงเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมามีอาสาสมัคร We Watch ประจำที่เลือกตั้งเบื้องต้นจำนวน 200 ที่ จากทั้งหมด 447 ที่